Categories
ข่าวสารปี 2565

สมาคมศิษย์เก่าวิศวกรรมชลประทาน ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดการแข่งขันกอล์ฟการกุศลชิงถ้วย หม่อมหลวงชูชาติ กำภู

สมาคมศิษย์เก่าวิศวกรรมชลประทาน ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดการแข่งขันกอล์ฟการกุศลชิงถ้วย หม่อมหลวงชูชาติ กำภู

        สมาคมศิษย์เก่าวิศวกรรมชลประทาน ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดการแข่งขันกอล์ฟการกุศลชิงถ้วย หม่อมหลวงชูชาติ กำภู ในวันที่5พฤศจิกายน 2565 ณ สนามกอล์ฟ บางไทรคันทรีคลับ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีวัตถุประสงค์สนับสนุนกิจกรรมสมาคมและกิจกรรมด้านต่างๆเพื่อเป็นสาธารณะประโยชน์ เพื่อเป็นทุนการศึกษาของมูลนิธิหม่อมหลวง ชูชาติ กำภู นิสิตวิทยาลัยการชลประทาน และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มก. และกิจกรรมด้านต่างๆของสมาคมฯ อีกทั้งมอบเป็นทุนการศึกษาต้นกล้าเกษตรคืนถิ่น เพื่อความยั่งยืนของโครงการบุตรเกษตรกร อีกด้วย

Categories
ข่าวสารปี 2565

กำหนดการวันชูชาติ 4มกราคม 2566 การจองแจกันหรือการสำรองโต๊ะจะแจ้งให้ทราบอีกครั้งนึง

กำหนดการวันชูชาติ 4มกราคม 2566 การจองแจกันหรือการสำรองโต๊ะจะแจ้งให้ทราบอีกครั้งหนึ่ง

    สมาคมศิษย์เก่าวิศวกรรมชลประทาน ในพระบรมราชูปถัมภ์ ขอเชิญชวนร่วมงาน “วันชูชาติ” วันที่ 4 มกราคม 2566 – ภาคเช้า พิธีสงฆ์ พิธีวางแจกัน การประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2565 พิธีมอบทุนการศึกษา และการเสวนา “การปรับโครงสร้างการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศไทย” – ภาคค่ำ งานคืนสู่เหย้า “ค่ำคืนแห่งสีสันแดนดินถิ่นดงตาล: วิถีปกติใหม่สู่อนาคต เน้นแต่งกายสีสันหลากสีคัลเลอร์ฟูล

รายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0 2584 0378 – 9 ต่อ 133

สั่งจองแจกันและโต๊ะได้ที่ https://forms.gle/Syh5S5TNyGvTE8gL7

* ขอความร่วมมือสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าตลอดระยะเวลาร่วมกิจกรรม *

Categories
ข่าวสารปี 2565

วันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2565 นายเลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ อุปนายกฯ นายชัยยะ พึ่งโพธิ์สภ เลขาธิการสมาคมฯ และนายรสุ สืบสหการ ปฏิคม และเจ้าหน้าที่ เข้าร่วมวางพวงมาลาในนามของมูลนิธิหม่อมหลวงชูชาติ กำภู เพื่อระลึกถึงหม่อมหลวงชูชาติ กำภู ผู้วางรากฐานการศึกษา และก่อตั้ง
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

Categories
ข่าวสารปี 2565

วารสารข่าวสมาคมฉบับที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม – 1สิงหาคม 2565

วารสารข่าวสมาคมฉบับที่1 ตั้งแต่วันที่ 4มกราคม - 1สิงหาคม 2565

Categories
ข่าวสารปี 2565

วิกฤตลุ่มน้ำเจ้าพระยาน้ำท่วมกรุงเทพฯและปริมณฑลแก้ไขอย่างไร

ในวันที่ 1 สิงหาคม 2565 สมาคมศิษย์เก่าวิศวกรรมชลประทาน ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับสมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดงานเสวนา ในหัวข้อ “วิกฤตลุ่มน้ำเจ้าพระยาน้ำท่วมกรุงเทพฯและปริมณฑลแก้ไขอย่างไร”

สามารถ รับชมย้อนหลังได้ที่ลิ้ง
https://fb.watch/eFJU6Ai1Bz/

สามารถดูไฟล์ประกอบในเสาวนา ได้ที่ลิ้ง
https://drive.google.com/drive/folders/1Xf8U1de4k3ImxMnGe07nVYDfeBkS0rMU?usp=sharing

Categories
ข่าวสารปี 2565

สมาคมศิษย์เก่าวิศวกรรมชลประทาน ในพระบรมราชูปถัมภ์สนับสนุนการจัดงาน วันคล้ายวันสถาปนา 84 ปี วิทยาลัยการชลประทาน และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

           วันที่ 1 สิงหาคม 2565 สมาคมศิษย์เก่าวิศวกรรมชลประทาน ในพระบรมราชูปถัมภ์สนับสนุนการจัดงาน วันคล้ายวันสถาปนา 84 ปี วิทยาลัยการชลประทาน และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีการจัดกิจกรรมในภาคเช้า
ณ วิทยาลัยการชลประทาน และภาคบ่ายร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และสมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Categories
ข่าวสารปี 2565

วันคล้ายวันสถาปนาวิทยาลัยการชลประทาน ครบรอบปีที่ 84 วันที่ 1 สิงหาคม 2565

               ร่วมสนับสนุนกิจกรรม ครบรอบปีที่ 84 ในวันที่ 1 สิงหาคม 2565 วิทยาลัยการชลประทาน กรมชลประทาน สถาบันสมทบมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก่อตั้งขึ้นโดย หม่อมหลวงชูชาติ กำภู อดีตอธิบดีกรมชลประทาน เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2481 โดยในตอนนั้นใช้ชื่อว่า “โรงเรียนการชลประทาน” ตั้งอยู่ที่บริเวณกรมชลประทาน ต.บางตลาด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี เปิดรับนิสิตรุ่นแรกเมื่อปี พ.ศ. 2481 โดยต่อมาในปี พ.ศ. 2497 กรมชลประทานได้ขอรวมโรงเรียนการชลประทานเข้ากับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตั้งขึ้นเป็นคณะใหม่ของมหาวิทยาลัยฯ เรียกว่า “คณะวิศวกรรมชลประทาน” ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในเวลาต่อมา อย่างไรก็ตามหลังจากนั้นโรงเรียนการชลประทานได้แยกตัวออกมาอีกครั้งในปี พ.ศ. 2510 มีการปรับหลักสูตรการเรียนการสอนให้กับยุคสมัยและให้เหมาะสมกับงานของกรมชลประทาน จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2535 โรงเรียนการชลประทานได้รับการยกฐานะเป็น “วิทยาลัยการชลประทาน” และได้เข้าเป็นสถาบันสมทบของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดำเนินการรับนิสิตเข้าศึกษาโดยอยู่ภายใต้ข้อผูกพันกับกรมชลประทาน พร้อมกันนี้ได้มีการปรับเปลี่ยนหลักสูตรใหม่ ผลิตบัณฑิตในระดับปริญญาตรี เปลี่ยนเป็นหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมชลประทาน และปรับโครงสร้างหลักสูตรอีกครั้งในปี พ.ศ. 2549 เป็นหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา – ชลประทาน ซึ่งไม่มีข้อผูกพันกับกรมชลประทาน แต่อย่างไรก็ตามในปี พ.ศ. 2552 กรมชลประทานได้รับวิทยาลัยการชลประทานเข้าเป็นสวัสดิการการศึกษาวิทยาลัยการชลประทานจนถึงปัจจุบัน ตลอดระยะเวลา 84 ปี วิทยาลัยการชลประทานรับนิสิต “ลูกชลกร” มาแล้ว 77 รุ่น รวมกว่า 5,498 คน ผลิตบัณฑิตรองรับภารกิจกรมชลประทาน หน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในภายงานแจกของที่ระลึกมากมาย เช่น เข็มกลัด 84 ปี วิทยาลัยการชลประทาน และหนังสือที่ระลึก 84 ปี วิทยาลัยการชลประทาน “คลื่นชลกรไม่มีวันสิ้นสุด” อีกทั้งมีกิจกรรมให้ร่วมสนุกได้ตลอดเดือน สิงหาคม 2565

           กิจกรรมวันคล้ายวันสถาปนาวิทยาลัยการชลประทาน ครบรอบปีที่ 84 วันที่ 1 สิงหาคม 2565 (สามารถรับชมย้อนหลังได้ที่ผ่านทางเฟสบุคสถาบันฯ)
กำหนดการของกิจกรรม
07.00 น. พิธีสงฆ์
08.00 น. พิธีสักการะ อนุสาวรีย์ ม.ล.ชูชาติ กำภู
09.00 น. พิธีมุทิตาจิต “กตเวทิตา บูรพาจารย์ นำลึก”
10.30 น. ชมนิทรรศการ “84ปี คลื่นชลกรไม่มีวันสิ้นสุด”

Categories
ข่าวสารปี 2565

ครบรอบ 84 ปี วิทยาการชลประทาน

ครบรอบ 84 ปี วิทยาการชลประทาน

Categories
ข่าวสารปี 2565

วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 การประชุมวิชาการ THAICID National SYMPOSIUM ครั้งที่ 15

วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 การประชุมวิชาการ THAICID National SYMPOSIUM ครั้งที่ 15 จัดโดย คณะกรรมการด้านการชลประทานและการระบายน้ำแห่งประเทศไทย (THAICID) และ คณะอนุกรรมการด้านน้ำและระบบนิเวศในนาข้าว (INWEPF) ร่วมกับ สมาคมศิษย์เก่าวิศวกรรมชลประทาน ในพระบรมราชูปถัมภ์ กรมชลประทาน เครือข่ายสถาบันการศึกษา หน่วยงานราชการและเอกชน

หัวข้อหลัก “การปรับปรุงธรรมาภิบาลเพื่อการบริหารจัดการอุทกภัยและภัยแล้ง หลังการระบาดใหญ่ภายใต้สภาวะการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Improving Water Governance for Flood and Drought Managements Amidst Post Pandemic Crisis and Climate Change)”

Categories
ข่าวสารปี 2565

สมาคมศิษย์เก่าวิศวกรรมชลประทาน ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับ คณะกรรมการ THAICID จัดแถลงข่าวเชิญร่วมประชุมวิชาการ ครั้งที่15 ว่าด้วยการบริหารจัดการอุทกภัยและภัยแล้ง หลังการระบาดใหญ่

วันที่ 24 มิถุนายน 2565 เวลา 13.00-14.30 น.

สมาคมศิษย์เก่าวิศวกรรมชลประทาน ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับ คณะกรรมการ THAICID จัดแถลงข่าวเชิญร่วมประชุมวิชาการ ครั้งที่15 ว่าด้วยการบริหารจัดการอุทกภัยและภัยแล้ง หลังการระบาดใหญ่

คณะกรรมการ THAICID ได้กำหนดจัดงานประชุมวิชาการ THAICID National SYMPOSIUM ครั้งที่ 15 ภายใต้หัวข้อหลัก “การปรับปรุงธรรมาภิบาลเพื่อการบริหารจัดการอุทกภัยและภัยแล้ง หลังการระบาดใหญ่ ภายใต้สภาวะการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ” ผ่าน Interactive Online

นายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน ในฐานะเลขาธิการคณะกรรมการด้านการชลประทานและการระบายน้ำแห่งประเทศไทย THAICID เปิดเผยว่า การจัดประชุมวิชาการ THAICID มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเผยแพร่งานวิชาการ ด้านการชลประทานและการระบายน้ำ รวมถึงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นวัตกรรมและเทคโนโลยี ระหว่างสมาชิกเครือข่าย ซึ่งงานประชุมวิชาการ THAICID มีกำหนดการจัดเป็นประจำทุกปีในรูปแบบที่สอดคล้องกับสถาณการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งในปีนี้สถานการณ์การระบาดใหญ่ได้ทุเลาลง คณะทำงาน THAICID จึงได้ปรับเปลี่ยนการจัดงานจาก Online เต็มรูปแบบ เป็นการถ่ายทอดงานผ่านแฟลตฟอร์ม Interactive Online และมีการจัดงานจากสถานที่จริง หรือ live On Stage and Streaming On Site จากเวทีกลางในอาคารหอประชุมชูชาติ กำภู สถาบันพัฒนาการชลประทาน กรมชลประทาน อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ภายใต้ชื่องาน THAICID National Symposium ครั้งที่ 15 ภายใต้หัวข้อหลัก “การปรับปรุงธรรมาภิบาลเพื่อการบริหารจัดการอุทกภัยและภัยแล้ง หลังการระบาดใหญ่ภายใต้สภาวะการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Improving Water Governance for Flood and Drought Managements Amidst Post Pandemic Crisis and Climate Change)” โดยในปีนี้ผลงานวิชาการที่นำเสนอ จะครอบคลุมเนื้อหาด้านการวางแผน คาดการณ์ และบริหารจัดการความเสี่ยงด้านภัยพิบัติ โดยเน้นการปรับปรุงธรรมาภิบาลและนวัตกรรมเทคโนโลยี เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนารูปแบบการดำเนินงานด้านการชลประทานให้มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน ซึ่งในช่วงพิธีเปิดจะมีองค์ปาฐกรับเชิญพิเศษคือ Er.A.B. Pandya Secretary General, ICID มาปาฐกถาเกี่ยวกับหัวข้อหลัก และมีองค์ปาฐกที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิรับเชิญ (Keynote Speakers) อีก 3 ท่าน จะกล่าวถึงเนื้อหาของแต่ละหัวข้อย่อยในอีก 3 มิติคือ

มิติ 1 แพลตฟอร์มสำหรับคาดการณ์ ตรวจสอบ และบริหารจัดการความเสี่ยงด้านภัยพิบัติ ที่แม่นยำและใช้งานได้ทันท่วงที โดย ดร.สุทัศน์ วีสกุล ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ เป็นองค์ปาฐก

มิติ 2 นวัตกรรมสรรค์สร้างและเทคโนโลยีเพื่อการปรับเปลี่ยน โดย นายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดีฝ่ายวิชาการ กรมชลประทาน เป็นองค์ปาฐก

และ มิติ 3 การบริหารจัดการน้ำชลประทานและการระบายน้ำอย่างยั่งยืนภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดย ดร. กนกวรรณ ศาศวัตเตชะ ที่ปรึกษาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการจัดการน้ำในการเกษตร, GIZ เป็นองค์ปาฐก

นอกจากนี้ ยังมีการนำเสนอบทความรับเชิญ 2 บทความ และมีบทความที่น่าสนใจที่ผ่านการคัดเลือก จากผู้ร่วมส่งบทความจาก 13 หน่วยงาน โดย 6 บทความได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอบนเวทีหลัก และ 15 บทความนำเสนอในห้องย่อย เป็นการแสดงผลงานแลกเปลี่ยนความรู้ ทั้งในรูปแบบการ e-Symposium Online และการถ่ายทอดสด จาก อาคารหอประชุมชูชาติ กำภู ทั้งสามารถเข้าร่วมในงานวันจริงได้ ณ อาคารหอประชุมชูชาติ กำภู ในรูปแบบ Social Distancing โดยผู้ดำเนินรายการและเจ้าของผลงาน จะดำเนินการตอบคำถามและข้อสงสัยด้วยตนเอง

ทั้งนี้ จึงขอเชิญชวน องค์กรเครือข่าย สถาบันการศึกษา หน่วยงานราชการ และเอกชน ตลอดจนผู้ที่สนใจ เข้าร่วมชมการประชุมวิชาการครั้งนี้ ณ อาคารหอประชุมชูชาติกำภู สถาบันพัฒนาการชลประทาน กรมชลประทาน อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี หรือรับชมผ่านทางเว็บไซต์ https://thaicid.rid.go.th/2022 โดยสามารถเข้าร่วมพิธีเปิดงานได้ในวันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม 2565 ตั้งแต่เวลา 08.30 น. เป็นต้นไป รวมทั้งร่วมชมการแสดงปาฐกถาพิเศษ และการนำเสนอผลงานจริงได้ตลอดทั้งวัน พร้อมร่วมกิจกรรมรับของที่ระลึก