Categories
ข่าวสารปี 2566

มอบทุนการศึกษา “ต้นกล้าเกษตรคืนถิ่นเพื่อความยั่งยืน” รุ่นที่ 6

มอบทุนการศึกษา “ต้นกล้าเกษตรคืนถิ่นเพื่อความยั่งยืน” รุ่นที่ 6

   วันที่ 13 มิถุนายน 2566 ภายในงานวันสถาปนากรมชลประทาน ครบรอบปีที่ 121 สมาคมศิษย์เก่าวิศวกรรมชลประทาน ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับ วิทยาลัยการชลประทาน มูลนิธิ และคณะอนุกรรมการสวัสดิการทุนการศึกษาต้นกล้าเกษตรคืนถิ่นเพื่อความยั่งยืน กรมชลประทาน ได้จัดพิธีมอบทุนการศึกษา “ต้นกล้าเกษตรคืนถิ่นเพื่อความยั่งยืน” กรมชลประทาน รุ่นที่ 6 ภายใต้โครงการส่งเสริมโอกาสการศึกษาต่อในวิทยาลัยการชลประทาน สถาบันสมทบมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ของบุตรเกษตรกร ประจำปีการศึกษา 2566 ตามนโยบายของ พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น (2561) เพื่อสร้างโอกาสให้แก่บุตรเกษตรกรที่ผ่านการคัดเลือก ได้เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี ณ วิทยาลัยการชลประทาน ในโครงการเมล็ดพันธุ์สู่ศาสตร์แห่งแผ่นดิน เพื่อเรียนรู้ ศึกษา งานด้านชลประทาน และการเกษตรบนพื้นฐานของการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม สามารถนำความรู้และทักษะต่างๆ กลับไปพัฒนาบ้านเกิด

สำหรับในปี 2566 นี้ มีนิสิตวิทยาลัยการชลประทานที่ผ่านการพิจารณาให้เข้ารับทุนการศึกษา รุ่นที่ 6 จำนวนทั้งสิ้น 6 คน ได้แก่

   1.นายธีรภัทร บัวใหญ่ โรงเรียนเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี

   2.นางสาววรรวิษา ศรีสวย โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ กาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี

   3.นางสาวปนิตา คงกะพันธ์ โรงเรียนทุ่งใหญ่วิทยาคม จังหวัดนครศรีธรรมราช

   4.นางสาวจิรนันท์ พรหมห้อง โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี 2 สงขลา จังหวัดพัทลุง

   5.นายประกฤษฏิ์ สันตจิตร โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย จังหวัดสงขลา

   และ 6.นายศิวดล เรืองรอง โรงเรียนระโนดวิทยา จังหวัดสงขลา

   ทั้งนี้ เมื่อศึกษาจบแล้ว จะมีโอกาสเข้าทำงานกับกรมชลประทานในท้องถิ่นบ้านเกิดตนเองหรือตามที่กรมชลประทานกำหนด สามารถนำความรู้ทักษะวิชาชีพด้านการชลประทาน มาปรับใช้ให้สอดคล้องทันต่อยุคสมัย ภายใต้หลักคิด Young Smart Farmer เป็นผู้นำทางการเกษตรสมัยใหม่ พึ่งพาตนเองได้และเป็นที่พึ่งแก่เพื่อนเกษตรกร ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาการเกษตรของไทย สามารถสนับสนุนภารกิจกรมชลประทานเพื่อเกษตรกรต่อไป

Categories
ข่าวสารปี 2566

วันคล้ายวันสถาปนา คณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

วันคล้ายวันสถาปนา คณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

วันที่ 20 เมษายน 2566 สมาคมศิษย์เก่าวิศวกรรมชลประทานในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยนายชัยยะ พึ่งโพธิ์สภ เลขาธิการสมาคมฯ และคณะ ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนา คณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Categories
ข่าวสารปี 2566

นิสิตวิทยาลัยการชลประทานรุ่น 75 ร่วมนำเสนอผลงานโครงงานวิศวกรรมและคว้ารางวัลทั้งประเภทผลงานโครงงานวิศวกรรมดีเด่น และประเภทการนำเสนอผลงานดีเด่น

    วันที่ 4 เมษายน 2566 เวลา 09.00 น. สนับสนุนโดยสมาคมศิษย์เก่าวิศวกรรมชลประทาน ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดย นายวิทยา แก้วมี รองอธิบดีฝ่ายวิชาการ กรมชลประทาน และกรรมการกลาง สมาคมศิษย์เก่าฯ เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมวิชาการโครงงานวิศวกรรมชลประทาน ณ วิทยาลัยการชลประทาน กรมชลประทาน อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี

   โดยมีนิสิตวิทยาลัยการชลประทานรุ่น 75 ร่วมนำเสนอผลงานโครงงานวิศวกรรมและคว้ารางวัลทั้งประเภทผลงานโครงงานวิศวกรรมดีเด่น และประเภทการนำเสนอผลงานดีเด่น

   สำหรับการจัดประชุมโครงงานวิศวกรรมชลประทานครั้งนี้ เป็นการจัดประชุมประจำปีการศึกษา 2565 ซึ่งมีการจัดต่อเนื่องมาโดยตลอด แล้วมาเว้นระยะช่วงของการระบาดของโรค COVID – 19 แต่เมื่อสถานการณ์ดีขึ้น ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงร่วมกับวิทยาลัยการชลประทาน สถาบันสมทบมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เริ่มกลับมาดำเนินการอีกครั้ง ซึ่งกิจกรรมครั้งนี้ จะเน้นนิสิตเป็นสำคัญ โดยการมอบหมายให้นิสิตชั้นปีที่ 4 ซึ่งลงทะเบียนเรียน วิชาโครงงานวิศวกรรมชลประทาน ร่วมกันนำเสนอผลงานจากการจัดทำโครงงานในรูปแบบการจัดประชุมวิชาการ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ คือ

  1. เพื่อเป็นการส่งเสริมให้นิสิตสาขาวิศวกรรมชลประทาน และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ได้ทำการศึกษา ค้นคว้า รวมทั้งประยุกต์ความรู้ทางวิศวกรรมชลประทาน และสาขาที่เกี่ยวข้องมาจัดทำเป็นโครงงานที่มีคุณภาพและเป็นประโยชน์
  2. เพื่อเป็นการส่งเสริมให้นิสิตมีการพัฒนา ฝึกฝน จนเกิดทักษะด้านการนำเสนอข้อมูลต่อที่สาธารณะ การพิจารณาตอบข้อซักถามจากผู้ร่วมรับฟัง
  3. เพื่อเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ระหว่างนิสิตทั้ง 3 สถาบัน

   ในการจัดประชุมวิชาการเพื่อนำเสนอโครงงานวิศวกรรมชลประทานในปีนี้ ถือเป็นโอกาสอันดีที่ได้ขยายเครือข่ายฉันท์มิตรทางการศึกษาร่วมส่งนิสิตนักศึกษามาร่วมนำเสนอผลงานด้วย ทำให้มีผลงานที่ได้รับการคัดเลือกเป็นตัวแทนจาก 6 สาขาวิชา รวมทั้งสิ้น 9 โครงงาน ประกอบด้วย

  1. วิทยาลัยการชลประทาน สถาบันสมทบมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 3 โครงงาน
  2. ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 2 โครงงาน
  3. ภาควิชาทรัพยากรน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 1 โครงงาน
  4. ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำนวน 1 โครงงาน
  5. ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 1 โครงงาน
  6. ภาควิชาสิ่งแวดล้อมและการจัดการภัยพิบัติ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 1 โครงงาน

   นอกจากนั้นแล้ว การจัดประชุมวิชาการในปีนี้ มีการพิจารณามอบรางวัลให้กับน้องๆ นิสิตนักศึกษา โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทผลงานโครงงานวิศวกรรมดีเด่น และประเภทการนำเสนอผลงานดีเด่น ซึ่งทีมที่ชนะแต่ละประเภทจะได้รับเงินรางวัลและประกาศนียบัตรเพื่อเป็นขวัญกำลังใจ โดยการสนับสนุนจากสมาคมศิษย์เก่าวิศวกรรมชลประทาน ในพระบรมราชูปถัมภ์

ผลการประกวดประเภทผลงานโครงงานวิศวกรรมดีเด่น:

  1. ระดับดีเลิศ หัวข้อเรื่อง: โครงการศึกษาอุปกรณ์ป้องกันสัตว์น้ำข้ามลุ่มแบบฟองอากาศและคลื่นเสียง ผลงานจากนิสิตวิทยาลัยการชลประทาน
  2. ระดับดีเด่น หัวข้อเรื่อง : การประมาณค่าสัมประสิทธิ์การใช้น้ำของพืช (Kc) เศรษฐกิจข้าว อ้อย และข้าวโพด โดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียมหลายช่วงเวลาจากเว็บไซต์ IrriSAT ผลงานจากนิสิตภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
  3. ระดับดีเด่น หัวข้อเรื่อง : การเปรียบเทียบผลิตภาพของน้ำในการปลูกข้าวโดยระบบวิธีปักดำแบบต้นเดียวและแบบดั้งเดิม ผลงานจากนิสิตภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
  4. ระดับดี หัวข้อเรื่อง : การพยากรณ์พื้นที่การเกิดอุทกภัย อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี ผลงานจากนิสิตภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ
  5. ระดับดี การประยุกต์แบบจำลองสารสนเทศอาคารและโปรแกรม Twinmotion สำหรับตรวจสอบแบบและสร้างแบบเสมือนจริงในงานชลประทานแบบฉีดฝอย ผลงานจากนักศึกษา ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  6. ระดับดี หัวข้อเรื่อง : การพัฒนาวิธีการลำดับความสำคัญของพื้นที่สำหรับปฏิบัติการฝนหลวง ผลงานจากนักศึกษาภาควิชาสิ่งแวดล้อมและการจัดการภัยพิบัติ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผลการประกวดประเภทการนำเสนอผลงานดีเด่น

  1. อันดับ 1 หัวข้อเรื่อง: โครงการศึกษาอุปกรณ์ป้องกันสัตว์น้ำข้ามลุ่มแบบฟองอากาศและคลื่นเสียง ผลงานจากนิสิตวิทยาลัยการชลประทาน
  2. อันดับ 2 หัวข้อเรื่อง : การศึกษาการเลือกออกแบบอาคารระบายน้ำล้นเบื้องต้นที่เหมาะสม กรณีศึกษาอ่างเก็บน้ำห้วยแม่เคียน อำเภองาว จังหวัดลำปาง ผลงานจากนิสิตวิทยาลัยการชลประทาน
  3. อันดับ 3 หัวข้อเรื่อง : การศึกษาความสามารถของเข็มคอนกรีตอัดแรงสำหรับโครงสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ผลงานจากนิสิตวิทยาลัยการชลประทาน
  4. อันดับ 3 หัวข้อเรื่อง : การประยุกต์แบบจำลองสารสนเทศอาคารและโปรแกรม Twinmotion สำหรับตรวจสอบแบบและสร้างแบบเสมือนจริงในงานชลประทานแบบฉีดฝอย ผลงานจากนักศึกษา ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  5. ชมเชย หัวข้อเรื่อง : การประมาณความต้องการใช้น้ำนอกภาคเกษตรกรรมในพื้นที่ลุ่มน้ำมูลตอนบน ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Categories
ข่าวสารปี 2566

วารสารข่าวสมาคมฯ ฉบับที่ 2

วารสารข่าวสมาคมฯ ฉบับที่ 2 (มกราคม-มีนาคม 2566)

Categories
ข่าวสารปี 2566

งานเลี้ยงแสดงความยินดี นิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นผู้บริหารระดับสูงประจำปี 2565

         งานเลี้ยงแสดงความยินดี นิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นผู้บริหารระดับสูงประจำปี 2565 ในวันที่ 24 มีนาคม 2566 ณ อาคารจักรพันธ์เพ็ญศิริ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บางเขน

1. นายบุญสม ชลพิทักษ์วงศ์ ชลกร E 36
ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี

2. นายวัชระ เสือดี ชลกร E39
ผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านวิศวกรรมชลประทาน
(ด้านบำรุงรักษา)

3. นายวีรวัฒน์ อังศุพาณิชย์ ชลกร E40
รองอธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร

4. นายจิรวัฒน์ ระติสุนทร ชลกร E41
รองเลขาธิการ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม

5. นายสุริยพล นุชอนงค์ ชลกร E44
รองอธิบดีกรมชลประทาน

6. นายวิทยา แก้วมี ชลกร E48
รองอธิบดีกรมชลประทาน

7. นายครองศักดิ์ สงรักษา ชลกร E49
รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร

Categories
ข่าวสารปี 2566

Dongtan Engineer Forum ครั้งที่ 3

Dongtan Engineer Forum ครั้งที่ 3

      วันที่ 11 มีนาคม 2566 นายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล ในนามนายกสมาคมศิษย์เก่าวิศวกรรมชลประทาน ในพระบรมราชูปถัมภ์ นายชัยยะ พึ่งโพธิ์สภ เลขาธิการสมาคมฯ นายวิทยา แก้วมี กรรมกลาง นายณัฐพล วุฒิจันทร์ เหรัญญิกสมาคมฯ และเจ้าหน้าที่ เข้าร่วมงาน Dongtan Engineer Forum ครั้งที่ 3 เพื่อเป็นทุนสนับสนุนการดำเนินการต่างๆ ของสมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการบริหารกิจกรรม ที่ส่งเสริมทุนการศึกษา บุคลากรเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์ต่างๆ ในหัวข้อเรื่อง Climate Change: The Next Crisis – Time to make sustainability into action “พลิกวิกฤตมหันตภัยโลกร้อน” เพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้กับผู้บริหารระดับสูงทั้งภาคธุรกิจ ภาครัฐประชาชน และผู้สนใจทั่วไป ณ ห้องเวิลด์บอลรูม ชั้น 23 โรงแรมเซ็นทรา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ

Categories
ข่าวสารปี 2566

การแข่งขันกีฬาสานสัมพันธ์วิศวะเกษตรศาสตร์ 5 วิทยาเขต ณ สนามฟุตบอล กรมชลประทาน

การแข่งขันกีฬาสานสัมพันธ์วิศวะเกษตรศาสตร์ 5 วิทยาเขต ณ สนามฟุตบอล กรมชลประทาน

     วันที่ 5 มีนาคม 2566 นายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล ในนามนายกสมาคมศิษย์เก่าวิศวกรรมชลประทาน ในพระบรมราชูปถัมภ์ มอบหมายให้ อาจารย์ชัยยะ พึ่งโพธิ์สภ เลขาธิการสมาคมฯ เป็นประธาน เปิดการแข่งขันกีฬาสานสัมพันธ์วิศวะเกษตรศาสตร์ 5 วิทยาเขต ณ สนามฟุตบอล กรมชลประทาน โดยวิทยาลัยการชลประทาน ได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน กิจกรรมประกอบด้วย ขบวนพาเรดนักกีฬาและพิธีเปิดการแข่งขัน การแข่งขันกีฬาฟุตบอล แบดมินตัน เปตอง วอลเลย์บอล แชร์บอล บาสเกตบอล เทเบิลเทนนิส และ e-Sport ณ พื้นที่กรมชลประทาน ปากเกร็ด และวิทยาลัยการชลประทาน

Categories
ข่าวสารปี 2566

ชลกรพี่น้องพร้อมวิ่ง อุทยานชลประทานไทย โครงการ 80th KU RUN

โครงการ 80th KU RUN

   วันที่ 15 มกราคม 2566 นายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน ในนามนายกสมาคมศิษย์เก่าวิศวกรรมชลประทาน ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นประธานเปิดกิจกรรม “ชลกรพี่น้องพร้อมวิ่ง อุทยานชลประทานไทย” เปิดประสบการณ์ใหม่ ครั้งแรก เปลี่ยนสนามกอล์ฟเป็นลู่วิ่งธรรมชาติ ระยะทาง 4.8 กม. พร้อมด้วยนายชัยยะ พึ่งโพธิ์สภ เลขาธิการสมาคมฯ
ภายใต้โครงการ 80th KU RUN นำผู้มีใจรักการเดิน – วิ่งเพื่อสุขภาพสัมผัสบรรยากาศยามเช้าในพื้นที่โครงการอุทยานชลประทานไทย เริ่มต้นจาก “อาคารดิน” ความท้าทายทางวิศวกรรมในการออกแบบโครงสร้างและก่อสร้างจากดิน ผ่านอาคารวิทยา สมาหาร ซึ่งเป็นที่ตั้งของท้องฟ้าจำลองและกีฬาในร่ม บนเส้นทางผสมผสานทั้งถนนพื้นคอนกรีต ถนนลูกรัง และเข้าสู่พื้นหญ้าในสนามกอล์ฟ ซึ่งประกอบไปด้วย Landmark สวยๆ วิวสะพาน สระน้ำ หลุมทราย ทิวสน ต้นจามจุรียักษ์ วนรอบแฟเวย์ เข้าสู่ป้ายอุทยานชลประทานไทยที่มีแนวต้นตาลอยู่เบื้องหลัง ก่อนที่จะวนกลับมาจุดเส้นชัยที่อาคารดิน พร้อมรับเหรียญที่ระลึก และรับประทานอาหารเช้าอย่างอิ่มอร่อย
การดำเนินการครั้งนี้ สำเร็จเสร็จสิ้นได้ด้วยฝีมือของ องค์การนิสิตวิทยาลัยการชลประทาน 
นำโดย “ชลกร76” โดยการสนับสนุนของ สมาคมศิษย์เก่าวิศวกรรมชลประทาน ในพระบรมราชูปถัมภ์ ศิษย์เก่ารุ่นพี่ นิสิตปัจจุบัน รวมถึงสำนัก/กองของกรมชลประทาน และที่ขาดไม่ได้ คือ ผู้รักการเดิน-วิ่งเพื่อสุขภาพทุกคนที่เดินทางมาร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ วิทยาลัยการชลประทานหวังเป็นอย่างยิ่งว่า 
จะสร้างความประทับใจให้ทุกท่านไม่มากก็น้อย แล้วพบกับ “ชลกรพี่น้องพร้อมวิ่ง อุทยานชลประทานไทย” ในครั้งต่อๆ ไป

Categories
ข่าวสารปี 2566

การประชุมเสวนาทางวิชาการ เรื่อง”ความเสี่ยงของปรากฎการณ์เอลนิโญกับ การบริหารจัดการน้ำของประเทศเพื่อความยั่งยืน”

สมาคมศิษย์เก่าวิศวกรรมชลประทานในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยนายชัยยะ พึ่งโพธิ์สภ เลขาธิการสมาคมฯ ร่วมกับ สมาคมนักอุทกวิทยาไทย ร่วมจัดการประชุมเสวนาทางวิชาการ เรื่อง”ความเสี่ยงของปรากฎการณ์เอลนิโญกับ การบริหารจัดการน้ำของประเทศเพื่อความยั่งยืน”
ในวันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 08.30 – 12.00 น.ณ อาคารหอประชุมชูชาติ กำภู
สถาบันพัฒนาการชลประทาน กรมชลประทาน อำเภอปากเกร็ด จ.นนทบุรี
และผ่านระบบ zoom meeting
บรรยายโดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ดังนี้
1. ดร.วัฒนา กันบัว
ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตุนิยมวิทยา
กรมอุตุนิยมวิทยา

2. คุณฐนโรจน์ วรรัฐประเสริฐ
ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการน้ำแห่งชาติ
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ

3. ดร.ธเนศร์ สมบูรณ์
ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการนํ้าและอุทกวิทยา
กรมชลประทาน

4. คุณประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์
ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ
สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ

รศ.ดร.บัญชา ขวัญยืน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
เป็น ผู้ด้าเนินการเสวนาทางวิชาการ
Faculty of Engineering :Kasetsart University Kamphaeng Saen Campus

และ รศ.ดร.อารียา ฤทธิมา
ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล
เป็นพิธีกร
Faculty of Engineering, Mahidol University

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Ut elit tellus, luctus nec ullamcorper mattis, pulvinar dapibus leo.

Categories
ข่าวสารปี 2566

วันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครบรอบ 80 ปี เพื่อระลึกถึงคุณูปการของอดีตสามบูรพาอาจารย์ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2566 นายวัชระ เสือดี อุปนายกฯ พร้อมด้วย นายชัยยะ พึ่งโพธิ์สภ เลขาธิการฯ และคณาจารย์จากวิทยาลัยการชลประทาน สถาบันสมทบมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าร่วมพิธีวางพวงมาลาคาราวะอนุสาวรีย์สามบูรพาจารย์ ในงานวันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครบรอบ 80 ปี เพื่อระลึกถึงคุณูปการของอดีตสามบูรพาอาจารย์ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์