Categories
ข่าวสารปี 2566

การแข่งขันมวยภายใน ประจำปี 2566 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 

วันที่ 28 สิงหาคม 2566 นายชัยยะ พึ่งโพธิ์สภ ชลกร 44 ในฐานะเลขาธิการสมาคมศิษย์วิศวกรรมชลประทาน ในพระบรมราชชูปถัมภ์ ร่วมแสดงความยินดีกับนิสิตวิทยาลัยการชลประทาน ในการแข่งขันมวยภายใน ประจำปี 2566 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยในปีนี้ มีนิสิตวิทยาลัยการชลประทาน สร้างชื่อเสียงและคว้ารางวัลมาฝากพี่ๆน้องๆ ชลกร ดังนี้
1. รุ่นไลท์ฟลายเวท น้ำหนักไม่เกิน 49 กก. 🥈คว้ารางวัลอันดับสอง คือ นายภูวิช เจริญวงศ์ (เติ้ง ชลกร77)
2. รุ่นมิดเดิลเวท น้ำหนักไม่เกิน 75 กก. 🥉คว้ารางวัลอันดับสาม คือ นายบวรศักดิ์ แก้วทวี (บ๊วย ชลกร77)
3. รุ่นเฮฟวี่เวท น้ำหนักไม่เกิน 91 กก. 🥉คว้ารางวัลอันดับสาม คือ นายอานนท์ณัฏฐ์ ซื่อสัตย์ (ปู่ ชลกร79)
4. ทีม chonlakornfighter ได้รับรางวัลทีมมารยาทยอดเยี่ยม

Categories
ข่าวสารปี 2566

โครงการแข่งขันประกวดโครงงานสะเต็ม 2566 หัวข้อ น้ำและการจัดการน้ำเพื่อการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์และการพัฒนาที่ยั่งยืน

       วันที่ 2 กันยายน 2566 สมาคมศิษย์เก่าวิศวกรรมชลประทาน ในพระบรมราชูปถัมภ์ สนับสนุนเงิน ในการจัดกิจกรรมโครงการแข่งขันประกวดโครงงานสะเต็ม 2566 หัวข้อ น้ำและการจัดการน้ำเพื่อการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์และการพัฒนาที่ยั่งยืน  

“Thailand STEM Project Competition 2023: Water and Water Management for Creative Learning and Sustainable Development” 

      สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ณ ห้องประชุม ชั้น 3 อาคารหอประชุมชูชาติ กำภู 60 ปี ชลประทานวิทยา โรงเรียนชลประทานวิทยา อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี

Categories
ข่าวสารปี 2566

วารสารข่าวสมาคมฯ เมษายน-สิงหาคม 2566

Categories
ข่าวสารปี 2566

งานเลี้ยงแสดงความยินดี นิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดีเด่น ภาคราชการ ประจำปี 2566

งานเลี้ยงแสดงความยินดี นิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดีเด่น ภาคราชการ ประจำปี 2566

วันที่ 1 สิงหาคม 2566
งานเลี้ยงแสดงความยินดี นิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดีเด่น ภาคราชการ ประจำปี 2566 ณ อาคารจักรพันธ์เพ็ญศิริ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บางเขน ได้แก่

1.นายบุญสม  ชลพิทักษ์วงศ์  E 36.

รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ  สำนักนายกรัฐมนตรี 

2.นายวัชระ เสือดี E 39.

ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิศวกรรมชลประทาน (ด้านบำรุงรักษา) กรมชลประทาน

Categories
ข่าวสารปี 2566

งานวันคล้ายวันสถาปนาวิทยาลัยการชลประทาน (โรงเรียนการชลประทาน) ครบรอบปีที่ 85

วันที่ 1 สิงหาคม 2566 งานวันคล้ายวันสถาปนาวิทยาลัยการชลประทาน (โรงเรียนการชลประทาน) ครบรอบปีที่ 85​

วันที่ 1 สิงหาคม 2566 งานวันคล้ายวันสถาปนาวิทยาลัยการชลประทาน (โรงเรียนการชลประทาน) ครบรอบปีที่ 85

นายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน ในฐานะนายกสมาคมศิษย์เก่าวิศวกรรมชลประทาน ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นประธานงานวันคล้ายวันสถาปนาวิทยาลัยการชลประทาน (โรงเรียนการชลประทาน) ครบรอบปีที่ 85 โดยมี คณะกรรมการบริหารสมาคม ผู้บริหารกรมชลประทานในอดีตและปัจจุบัน อาจารย์ ศิษย์เก่าและนิสิตปัจจุบัน เข้าร่วมงาน

สำหรับกิจกรรมในงาน ประกอบด้วย พิธีสงฆ์เพื่ออุทิศแก่ ม.ล.ชูชาติ กำภู บิดาแห่งชลกร คุณหญิงโฉมศรี กำภู ณ อยุธยา บูรพคณาจารย์และศิษย์เก่าที่ล่วงลับไปแล้ว จากนั้น เป็นพิธีสักการะ ม.ล.ชูชาติ กำภู และร่วมปลูกต้นตาล ตามลำดับ

วิทยาลัยการชลประทาน ปัจจุบันเป็นสถาบันสมทบมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และจัดเป็นสวัสดิการการศึกษาของกรมชลประทาน โดยมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ สถาบันพัฒนาการชลประทาน กรมชลประทาน ร่วมดูแลและบริหาร ปัจจุบันรับนิสิตรุ่นที่ 79 นับรวมลูกชลกรทั้งสิ้น 5,665 คน

 

Categories
ข่าวสารปี 2566

THAICID NWIKS 2023

THAICID NWIKS 2023

วันที่ 3-7 กรกฎาคม 2566 สมาคมศิษย์เก่าวิศวกรรมชลประทาน ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับ คณะกรรมการด้านการชลประทานและการระบายน้ำแห่งประเทศไทย (THAICID) และ คณะอนุกรรมการด้านน้ำและระบบนิเวศในนาข้าว (INWEPF) จัดการประชุมวิชาการ THAICID ครั้งที่ 16

โดยสมาคมศิษย์เก่าฯ เป็นเจ้าภาพการจัดงานในวันที่ 4 กรกฎาคม 2566 มีรูปแบบการจัดงานสัปดาห์เครือข่าย THAICID NWIKS 2023 แบบบูรณาการร่วมหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษาและภาคประชาชน รวมทั้งพิจารณาแผนการจัดงานประชุมและงบประมาณการดำเนินการในด้านต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนงานให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่ได้กำหนดไว้

โดยนายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน ในฐานะนายกสมาคมศิษย์เก่าวิศวกรรมชลประทาน ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นประธานในพิธีเปิดการเสวนาวิชาการ ภายใต้หัวข้อ “การขับเคลื่อนงานชลประทานสนับสนุนกลไกการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อความยั่งยืน (BCG Model)” พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกรมชลประทาน คณะกรรมการสมาคมศิษย์เก่าวิศวกรรมชลประทาน ในพระบรมราชูปถัมภ์ และเจ้าหน้าที่กรมชลประทาน เข้าร่วมการเสวนาดังกล่าว ซึ่งเป็นกิจกรรมภายในงานสัปดาห์เครือข่าย THAICID เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างบูรณาการ หรือ THAICID-NWIKS ประจำปี 2566 ณ หอประชุมชูชาติ กำภู สถาบันพัฒนาการชลประทาน กรมชลประทาน อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

การเสวนาในครั้งนี้ จัดโดย สมาคมศิษย์เก่าวิศวกรรมชลประทาน ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับ คณะกรรมการด้านการชลประทานและการระบายน้ำ (THAICID) คณะอนุกรรมการด้านน้ำและระบบนิเวศของนาข้าว (INWEPF) และกรมชลประทาน เพื่อรับฟังความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนถ่ายทอดความรู้จากวิทยากรผู้มีชื่อเสียง และนำไปประยุกต์ใช้ในการขับเคลื่อนงานชลประทานภายใต้แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว เพื่อความยั่งยืน (Bio-Circular-Green Economy : BCG Model) โดยมุ่งเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนในอนาคต

สำหรับภาคเช้าเริ่มต้นด้วยการบรรยายพิเศษ กรณีตัวอย่างการขับเคลื่อนพลังงานสะอาดเพื่อสนับสนุน BCG Model โดย

นายฉัตรชัย มาวงศ์

ผู้ช่วยผู้ว่าการวิศวกรรมและก่อสร้างโรงงานโรงงานไฟฟ้า การไฟฟ้าการผลิตแห่งประเทศไทย

ต่อด้วยการเสวนาวิชาการหัวข้อ “การขับเคลื่อนงานชลประทานผ่านกลไกการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อความยั่งยืน (BCG Model)” ร่วมเสวนาโดย

นายสัตวแพทย์ยุคล ลิ้มแหลมทอง

ประธานอนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG Model สาขาเกษตร

รองศาสตราจารย์ ดร.วิษณุ อรรถวานิช

คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

และสรุปประเด็นโดย ดร.ทรงศักดิ์ ภัทราวุฒิชัย

คณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ส่วนในภาคบ่ายเป็นการเสวนากรณีศึกษา Success Case of BCG Model โดย

นางสาวนวลลออ เทิดเกียรติกุล

ประธาน Young Smart Farmer จังหวัดราชบุรี

ดร.ภณ ทัพพินท์กร

นายกสมาคมพัฒนาเศรษฐกิจเกษตรรักษ์โลก

จากนั้นปิดท้ายด้วยการสรุปประเด็น โดย นางสาววรณัน โนราช ส่วนวิจัยและพัฒนาด้านวิศวกรรม สำนักวิจัยและพัฒนา

สำหรับการประชุมวิชาการ THAICID ครั้งที่ 16 จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 3-7 กรกฎาคม 2566 ในหัวข้อหลัก : การขับเคลื่อนงานชลประทานและการระบายน้ำแบบ SMART สนับสนุนกลไกการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อความยั่งยืน (BCG Model) และเป้าหมายการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน จะแบ่งออกเป็น 3 หัวข้อย่อย

คือ 

1. Irrigation and Drainage Management for Water Equity การขับเคลื่อนงานชลประทานและการระบายน้ำ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำเพิ่มความเท่าเทียม

2. Green Innovations and Technologies for Carbon Neutrality นวัตกรรมสรรค์สร้างและเทคโนโลยีสีเขียว เพื่อเป้าหมายการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน

3. Ecosystem-based Adaptation (EbA) in Irrigation Water Sector amidst Climate Change แนวทางการดำเนินการมาตรการปรับตัวโดยอาศัยระบบนิเวศในภาคน้ำชลประทานภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในส่วนของการจัดงาน จะเป็นการจัดประชุมวิชาการ คู่ขนานไปกับการจัดกิจกรรมในรูปแบบการจัดงานสัปดาห์เครือข่าย THAICID NWIKS 2023 ซึ่งจะประกอบไปด้วย งานเสวนาวิชาการ และการจัดนิทรรศการ โดยมีนักวิชาการ นักวิจัย นักเรียน นักศึกษา สถาบันเกษตรกรผู้ใช้น้ำ และหน่วยงานเครือข่ายของคณะทำงานด้านวิชาการ THAICID จำนวน 25 หน่วยงาน ร่วมเผยแพร่ผลงาน และจัดแสดงนิทรรศการในครั้งนี้

Categories
ข่าวสารปี 2566

มอบทุนการศึกษา “ต้นกล้าเกษตรคืนถิ่นเพื่อความยั่งยืน” รุ่นที่ 6

มอบทุนการศึกษา “ต้นกล้าเกษตรคืนถิ่นเพื่อความยั่งยืน” รุ่นที่ 6

   วันที่ 13 มิถุนายน 2566 ภายในงานวันสถาปนากรมชลประทาน ครบรอบปีที่ 121 สมาคมศิษย์เก่าวิศวกรรมชลประทาน ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับ วิทยาลัยการชลประทาน มูลนิธิ และคณะอนุกรรมการสวัสดิการทุนการศึกษาต้นกล้าเกษตรคืนถิ่นเพื่อความยั่งยืน กรมชลประทาน ได้จัดพิธีมอบทุนการศึกษา “ต้นกล้าเกษตรคืนถิ่นเพื่อความยั่งยืน” กรมชลประทาน รุ่นที่ 6 ภายใต้โครงการส่งเสริมโอกาสการศึกษาต่อในวิทยาลัยการชลประทาน สถาบันสมทบมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ของบุตรเกษตรกร ประจำปีการศึกษา 2566 ตามนโยบายของ พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น (2561) เพื่อสร้างโอกาสให้แก่บุตรเกษตรกรที่ผ่านการคัดเลือก ได้เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี ณ วิทยาลัยการชลประทาน ในโครงการเมล็ดพันธุ์สู่ศาสตร์แห่งแผ่นดิน เพื่อเรียนรู้ ศึกษา งานด้านชลประทาน และการเกษตรบนพื้นฐานของการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม สามารถนำความรู้และทักษะต่างๆ กลับไปพัฒนาบ้านเกิด

สำหรับในปี 2566 นี้ มีนิสิตวิทยาลัยการชลประทานที่ผ่านการพิจารณาให้เข้ารับทุนการศึกษา รุ่นที่ 6 จำนวนทั้งสิ้น 6 คน ได้แก่

   1.นายธีรภัทร บัวใหญ่ โรงเรียนเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี

   2.นางสาววรรวิษา ศรีสวย โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ กาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี

   3.นางสาวปนิตา คงกะพันธ์ โรงเรียนทุ่งใหญ่วิทยาคม จังหวัดนครศรีธรรมราช

   4.นางสาวจิรนันท์ พรหมห้อง โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี 2 สงขลา จังหวัดพัทลุง

   5.นายประกฤษฏิ์ สันตจิตร โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย จังหวัดสงขลา

   และ 6.นายศิวดล เรืองรอง โรงเรียนระโนดวิทยา จังหวัดสงขลา

   ทั้งนี้ เมื่อศึกษาจบแล้ว จะมีโอกาสเข้าทำงานกับกรมชลประทานในท้องถิ่นบ้านเกิดตนเองหรือตามที่กรมชลประทานกำหนด สามารถนำความรู้ทักษะวิชาชีพด้านการชลประทาน มาปรับใช้ให้สอดคล้องทันต่อยุคสมัย ภายใต้หลักคิด Young Smart Farmer เป็นผู้นำทางการเกษตรสมัยใหม่ พึ่งพาตนเองได้และเป็นที่พึ่งแก่เพื่อนเกษตรกร ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาการเกษตรของไทย สามารถสนับสนุนภารกิจกรมชลประทานเพื่อเกษตรกรต่อไป

Categories
ข่าวสารปี 2566

วันคล้ายวันสถาปนา คณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

วันคล้ายวันสถาปนา คณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

วันที่ 20 เมษายน 2566 สมาคมศิษย์เก่าวิศวกรรมชลประทานในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยนายชัยยะ พึ่งโพธิ์สภ เลขาธิการสมาคมฯ และคณะ ร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนา คณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Categories
ข่าวสารปี 2566

นิสิตวิทยาลัยการชลประทานรุ่น 75 ร่วมนำเสนอผลงานโครงงานวิศวกรรมและคว้ารางวัลทั้งประเภทผลงานโครงงานวิศวกรรมดีเด่น และประเภทการนำเสนอผลงานดีเด่น

    วันที่ 4 เมษายน 2566 เวลา 09.00 น. สนับสนุนโดยสมาคมศิษย์เก่าวิศวกรรมชลประทาน ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดย นายวิทยา แก้วมี รองอธิบดีฝ่ายวิชาการ กรมชลประทาน และกรรมการกลาง สมาคมศิษย์เก่าฯ เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมวิชาการโครงงานวิศวกรรมชลประทาน ณ วิทยาลัยการชลประทาน กรมชลประทาน อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี

   โดยมีนิสิตวิทยาลัยการชลประทานรุ่น 75 ร่วมนำเสนอผลงานโครงงานวิศวกรรมและคว้ารางวัลทั้งประเภทผลงานโครงงานวิศวกรรมดีเด่น และประเภทการนำเสนอผลงานดีเด่น

   สำหรับการจัดประชุมโครงงานวิศวกรรมชลประทานครั้งนี้ เป็นการจัดประชุมประจำปีการศึกษา 2565 ซึ่งมีการจัดต่อเนื่องมาโดยตลอด แล้วมาเว้นระยะช่วงของการระบาดของโรค COVID – 19 แต่เมื่อสถานการณ์ดีขึ้น ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงร่วมกับวิทยาลัยการชลประทาน สถาบันสมทบมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เริ่มกลับมาดำเนินการอีกครั้ง ซึ่งกิจกรรมครั้งนี้ จะเน้นนิสิตเป็นสำคัญ โดยการมอบหมายให้นิสิตชั้นปีที่ 4 ซึ่งลงทะเบียนเรียน วิชาโครงงานวิศวกรรมชลประทาน ร่วมกันนำเสนอผลงานจากการจัดทำโครงงานในรูปแบบการจัดประชุมวิชาการ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ คือ

  1. เพื่อเป็นการส่งเสริมให้นิสิตสาขาวิศวกรรมชลประทาน และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ได้ทำการศึกษา ค้นคว้า รวมทั้งประยุกต์ความรู้ทางวิศวกรรมชลประทาน และสาขาที่เกี่ยวข้องมาจัดทำเป็นโครงงานที่มีคุณภาพและเป็นประโยชน์
  2. เพื่อเป็นการส่งเสริมให้นิสิตมีการพัฒนา ฝึกฝน จนเกิดทักษะด้านการนำเสนอข้อมูลต่อที่สาธารณะ การพิจารณาตอบข้อซักถามจากผู้ร่วมรับฟัง
  3. เพื่อเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ระหว่างนิสิตทั้ง 3 สถาบัน

   ในการจัดประชุมวิชาการเพื่อนำเสนอโครงงานวิศวกรรมชลประทานในปีนี้ ถือเป็นโอกาสอันดีที่ได้ขยายเครือข่ายฉันท์มิตรทางการศึกษาร่วมส่งนิสิตนักศึกษามาร่วมนำเสนอผลงานด้วย ทำให้มีผลงานที่ได้รับการคัดเลือกเป็นตัวแทนจาก 6 สาขาวิชา รวมทั้งสิ้น 9 โครงงาน ประกอบด้วย

  1. วิทยาลัยการชลประทาน สถาบันสมทบมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 3 โครงงาน
  2. ภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 2 โครงงาน
  3. ภาควิชาทรัพยากรน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 1 โครงงาน
  4. ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำนวน 1 โครงงาน
  5. ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 1 โครงงาน
  6. ภาควิชาสิ่งแวดล้อมและการจัดการภัยพิบัติ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 1 โครงงาน

   นอกจากนั้นแล้ว การจัดประชุมวิชาการในปีนี้ มีการพิจารณามอบรางวัลให้กับน้องๆ นิสิตนักศึกษา โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทผลงานโครงงานวิศวกรรมดีเด่น และประเภทการนำเสนอผลงานดีเด่น ซึ่งทีมที่ชนะแต่ละประเภทจะได้รับเงินรางวัลและประกาศนียบัตรเพื่อเป็นขวัญกำลังใจ โดยการสนับสนุนจากสมาคมศิษย์เก่าวิศวกรรมชลประทาน ในพระบรมราชูปถัมภ์

ผลการประกวดประเภทผลงานโครงงานวิศวกรรมดีเด่น:

  1. ระดับดีเลิศ หัวข้อเรื่อง: โครงการศึกษาอุปกรณ์ป้องกันสัตว์น้ำข้ามลุ่มแบบฟองอากาศและคลื่นเสียง ผลงานจากนิสิตวิทยาลัยการชลประทาน
  2. ระดับดีเด่น หัวข้อเรื่อง : การประมาณค่าสัมประสิทธิ์การใช้น้ำของพืช (Kc) เศรษฐกิจข้าว อ้อย และข้าวโพด โดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียมหลายช่วงเวลาจากเว็บไซต์ IrriSAT ผลงานจากนิสิตภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
  3. ระดับดีเด่น หัวข้อเรื่อง : การเปรียบเทียบผลิตภาพของน้ำในการปลูกข้าวโดยระบบวิธีปักดำแบบต้นเดียวและแบบดั้งเดิม ผลงานจากนิสิตภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน
  4. ระดับดี หัวข้อเรื่อง : การพยากรณ์พื้นที่การเกิดอุทกภัย อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี ผลงานจากนิสิตภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ
  5. ระดับดี การประยุกต์แบบจำลองสารสนเทศอาคารและโปรแกรม Twinmotion สำหรับตรวจสอบแบบและสร้างแบบเสมือนจริงในงานชลประทานแบบฉีดฝอย ผลงานจากนักศึกษา ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  6. ระดับดี หัวข้อเรื่อง : การพัฒนาวิธีการลำดับความสำคัญของพื้นที่สำหรับปฏิบัติการฝนหลวง ผลงานจากนักศึกษาภาควิชาสิ่งแวดล้อมและการจัดการภัยพิบัติ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผลการประกวดประเภทการนำเสนอผลงานดีเด่น

  1. อันดับ 1 หัวข้อเรื่อง: โครงการศึกษาอุปกรณ์ป้องกันสัตว์น้ำข้ามลุ่มแบบฟองอากาศและคลื่นเสียง ผลงานจากนิสิตวิทยาลัยการชลประทาน
  2. อันดับ 2 หัวข้อเรื่อง : การศึกษาการเลือกออกแบบอาคารระบายน้ำล้นเบื้องต้นที่เหมาะสม กรณีศึกษาอ่างเก็บน้ำห้วยแม่เคียน อำเภองาว จังหวัดลำปาง ผลงานจากนิสิตวิทยาลัยการชลประทาน
  3. อันดับ 3 หัวข้อเรื่อง : การศึกษาความสามารถของเข็มคอนกรีตอัดแรงสำหรับโครงสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ผลงานจากนิสิตวิทยาลัยการชลประทาน
  4. อันดับ 3 หัวข้อเรื่อง : การประยุกต์แบบจำลองสารสนเทศอาคารและโปรแกรม Twinmotion สำหรับตรวจสอบแบบและสร้างแบบเสมือนจริงในงานชลประทานแบบฉีดฝอย ผลงานจากนักศึกษา ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  5. ชมเชย หัวข้อเรื่อง : การประมาณความต้องการใช้น้ำนอกภาคเกษตรกรรมในพื้นที่ลุ่มน้ำมูลตอนบน ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Categories
ข่าวสารปี 2566

วารสารข่าวสมาคมฯ ฉบับที่ 2

วารสารข่าวสมาคมฯ ฉบับที่ 2 (มกราคม-มีนาคม 2566)